กรมการค้าภายในเผยมีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยตั้งใหม่เพิ่มขึ้น มียอดผลิตรวมถึงวันละ 4.2 ล้านชิ้น เกิดส่วนเกินวันละ 1.2 ล้านชิ้น ครม.มีมติให้รับซื้อไว้ทั้งหมด ก่อนนำบริหารจัดการขายต่อให้หน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้ ทั้งการบินไทย-สายการบิน-สตม.-ทอท. ส่วนการซื้อให้ “สาธารณสุข-มหาดไทย” เปลี่ยนวิธีใหม่ ให้โรงงานแข่งเสนอราคาขาย ล่าสุดเดือนก.ค. ซื้อตกชิ้นละ 3.65 บาทจากก่อนหน้าชิ้นละ 4.28 บาท หลังราคาวัตถุดิบลด คาดเดือนส.ค.มีแนวโน้มลงอีก
นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน
เปิดเผยว่า ขณะนี้การผลิตหน้ากากอนามัยของไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่วันละประมาณ 4.2 ล้านชิ้น เพราะมีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยตั้งใหม่เพิ่มขึ้นหลายราย โดยล่าสุดมีโรงงานที่ผลิตได้มาตรฐานและขายให้กับรัฐบาลรวม 16 ราย โดยรัฐรับซื้อวันละ 3 ล้านชิ้น จัดสรรให้กระทรวงสาธารณสุข 1.8 ล้านชิ้น และกระทรวงมหาดไทย 1.2 ล้านชิ้น ซึ่งได้รับแจ้งจากกระทรวงสาธารณสุขว่ามีสต๊อกเก็บไว้ใช้เกิน 1 เดือนแล้ว ส่วนจังหวัดต่างๆ ที่ได้รับจัดสรรจากกระทรวงมหาดไทย ก็มีสต๊อกไว้มาก ทำให้หน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัย ไม่มีปัญหาการขาดแคลน
สำหรับหน้ากากอนามัยส่วนเกินที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้กรมการค้าภายใน ไปหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมบัญชีกลาง กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข หาแนวทางบริหารจัดการให้เหมาะสม โดยเห็นตรงกันว่า รัฐจะรับซื้อหน้ากากอนามัยส่วนเกินไว้ทั้งหมด เพื่อนำมาขายต่อให้กับหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องใช้ในราคาต้นทุน เช่น การบินไทย , สายการบินต่างๆ , สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทอท.) เป็นต้น เพื่อรองรับการคลายล็อกดาวน์ ที่เปิดให้มีการเริ่มบินภายในประเทศ และเริ่มที่จะเปิดรับคนต่างชาติบางกลุ่มเข้ามา
นายวิชัยกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของคณะกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการพัสดุสำหรับการป้อกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เสนอให้คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ พิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อหน้ากากอนามัยใหม่ จากในช่วงก่อนหน้า รัฐรับซื้อจากโรงงานวันละ 3 ล้านชิ้น ราคาชิ้นละ 4.28 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มาเป็นวิธีการประมูล โดยให้โรงงานเสนอราคาขายมา รายใดเสนอต่ำสุด รัฐจึงจะรับซื้อ ทำให้การซื้อเดือนมิ.ย. ซื้อได้ในราคาต่ำลงที่ชิ้นละ 4-4.15 บาท ส่วนเดือนก.ค. เหลือเพียง ชิ้นละ 3.65 บาท และคาดว่า ราคาในเดือนส.ค.นี้จะต่ำลงอีก
ปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตหน้ากากอนามัยถูกลง เนื่องจากวัตถุดิบสำคัญ โดยเฉพาะเมลท์โบลน ที่เป็นแผ่นกรองเชื้อโรค หาซื้อได้ง่ายขึ้น และราคาถูกลง เพราะผู้ผลิตหลายใหญ่ อย่างจีน กลับมาส่งออกมากขึ้น จากก่อนหน้านี้ จำกัดการส่งออก เพื่อให้มีเพียงพอในประเทศ
สำหรับการส่งออกหน้ากากอนามัย คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้เห็นชอบให้ต่ออายุการห้ามส่งออกไปอีก 6 เดือน หรือสิ้นสุดเดือนธ.ค.2563 จากก่อนหน้านี้ การห้ามส่งออกสิ้นสุดลงสิ้นเดือนมิ.ย.2563 แต่ยังคงยกเว้นให้ส่งออกได้ หากเป็นหน้ากากเฉพาะ เช่น หน้ากากป้องกันสารเคมี , หน้ากากอนามัยที่มีลิขสิทธิ์ ผลิตภายใต้แบรนด์เนมของผู้ว่าจ้าง , โรงงานได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้ผลิตเพื่อส่งออก และส่งออกไปให้สถานทูตไทยในประเทศต่างๆ เป็นต้น
ราชกิจจานุเบกษาประกาศ เลื่อนเก็บภาษียาสูบ 40% อีก 1 ปี
วานนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี และอัตราภาษีสรรพสามิตหนึ่งในนั้นคือการขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ายาสูบ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค.2563 เป็นต้นไป ความว่า
(๑) บุหรี่ซิกาแรต (ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔)
(ก) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน ซองละ 6๐ บาท ภาษีร้อยละ 20 มวนละ 1.20 บาท
(ข) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำเกิน ซองละ 6๐ บาท ภาษีร้อยละ 40 มวนละ 1.20 บาท
(๑) บุหรี่ซิกาแรต ภาษีร้อยละ 40 มวนละ 1.20 บาท ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ยาเส้น (ตั้งแต่วันที่๑ มกราคม ๒๕๖๓ถึงวันที่๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓)
(ก) ยาเส้นที่ผลิตเพื่อขายเป็นวัตถุดิบให้แก่ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบโดยตรงหรือ ขายผ่านผู้ค้าคนกลาง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด – หนึ่งกรัม เศษของหนึ่งกรัม ให้นับเป็นหนึ่งกรัม
(ข) ยาเส้นอื่นนอกจาก (ก) ๑) ปริมาณไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ กิโลกรัม ต่อปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีประกาศกำหนด – หนึ่งกรัม เศษของหนึ่งกรัม ให้นับเป็นหนึ่ง
ตั้งแต่วันที่๑ มกราคม ๒๕๖๔ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
(ก) ยาเส้นที่ผลิตเพื่อขายเป็นวัตถุดิบให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบโดยตรงหรือขายผ่านผู้ค้าคนกลาง ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศก าหนด – หนึ่งกรัม เศษของหนึ่งกรัม ให้นับเป็นหนึ่ง
(ข) ยาเส้นอื่นนอกจาก (ก)
๑) ปริมาณไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ กิโลกรัมต่อปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศก าหนด – หนึ่งกรัม เศษของหนึ่งกรัม ให้นับเป็นหนึ่ง
(๖) ยาเส้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
(ก) ยาเส้นที่ผลิตเพื่อขายเป็นวัตถุดิบให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบโดยตรงหรือขายผ่านผู้ค้าคนกลาง ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศก าหนด – หนึ่งกรัม เศษของหนึ่งกรัม ให้นับเป็นหนึ่ง
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป